ตัดกรรมคืออะไร ตามหลักคำสอนพระพุทธศานา ตัดกรรมได้อย่างไร

ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนให้คนทำบุญแล้วกรรมที่เคยทำน้ันจะหาย หรือ ไปทำพิธีตัดกรรมใด ๆ แล้วจะทำให้ชีวิตดีขึ้น มาจากการทำพิธีนั้น ๆ  แต่จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ คือ การให้เข้าถึงปัญญาของการหลุดพ้น และ เห็นการเป็นไปของ ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งสอนแล้ว จะทำให้เกิดปัญญา เห็นการตัดกรรมที่แท้จริงในคำสั่งสอน ด้วย หัวใจคำสอน คือ องค์มรรค8 หรือ ที่เราเรียกกัน บ่อย ๆ ว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา

ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา (องค์มรรค 8)

แต่การเริ่มต้นนั้นมักจะมาจากการ ทำบุญ ทำทาน เพื่อละความโลก  เช่น การถวายสังฆทาน การทำบุญวันเกิด ถวายผ้าไตร ใส่บาตร

ข้อปฏิบัติการทำบุญ ที่สำคัญ ได้แก่ บุญกิริยา 10 อย่าง

บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี — bases of meritorious action)
1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี — by observing the precepts or moral behavior)
3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ — by mental development)
4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม — by humility or reverence)
5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ — by rendering services)
6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น — by sharing or giving out merit)
7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น — by rejoicing in others’ merit)
8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ — by listening to the Doctrine or right teaching)
9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ — by teaching the Doctrine or showing truth)
10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง — by straightening one’s views or forming correct views)

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=89

ความรู้เกี่ยวกับความหมายด้านตัดกรรม คือ อะไร

การ “ตัดกรรม การตัดเวร” คืออะไร?

 

ซึ่งนำมาสู่ขั้นตอนต่อไปคือ ถือศีล เพื่อรักษาความดีนั้นไว้และรักษาไม่ให้ใจทำความชั่ว  จากนั้นจิตที่มีพื้นฐานที่ต้องสร้างให้เห็นถูกต้องนั้น มีความเข้าใจต่อการเป็นไปของกฏแห่งกรรม ซึ่งไม่มีใครจะหนีพ้นได้  จึงต้องอาศัยการภาวนา และ สร้างสติ เพื่อให้ใจนั้นเข้าไปน้อมถึง กฏ ไตรลักษณ์ เห็นว่า โลกนี้สุดท้ายแล้ว ไม่มีใครจะเป็นอมตะและหนีการตายไม่พ้น จุดนี้คือ การตัดกรรมที่แท้จริงที่คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นท่านได้ประทานเอาไว้ให้กับชาวโลก

 

 

หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร 

พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า “หัวใจพระพุทธศาสนา” เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่ายๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลี คือ “โอวาทปาฎิโมกข์” หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่ายๆ สั้นๆ ว่า “เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์” ภาษาพระหรือภาษาบาลีว่า…..

” สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ ”
แปลให้เต็มเลยว่า “การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้เพรียบพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

เมื่อปฏิบัติดีตามคำสั่งสอน ด้วย ทาน ศีล ภาวนา แล้วนั้นก็จะเข้าใจหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของศาสนา และนี่คือ การตัดกรรมโดยแแท้จริง

 

การถวายผ้าไตรนับได้ว่าเป็นทาน อย่างหนึ่งที่มีอานิสงส์สูงและได้บุญเป็นอย่างมาก ด้วยความศรัทธาและประณีต

ชุดผ้าไตรอันประณีต