ผ้าไตรจีวรพระในประเทศไทยมีกี่ชนิด แต่ละแบบเหมาะถวายพระอย่างไร

หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าผ้าไตรจีวรพระในประเทศไทยนั้นมีกี่ประเภท และ หลายท่านยังสงสัยว่าพระแต่ละวัดนั้นใส่ สีผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร ไม่เหมือนกัน ซึ่งในบทความนี้จะมาทำความเข้าในเรื่องของ ประเภทจีวร รวมถึง การเลือกซื้อถวาย เป็นสังฆทาน หรือ ทำบุญในเรื่องงานบุญ สำคัญ ๆ

ผ้าไตรคืออะไร

ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร

ความรู้เกี่ยวกับ ผ้าไตร คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ? คลิกอ่าน

ผ้าไตรคืออะไร

เหตุใดผ้าไตรจีวรพระทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร

 

คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรง ๆ จะหมายถึง ผ้าสามผืน

ดังนั้นสรุปคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง

ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย

ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์
ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก
สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า

ประเภทของผ้าไตรพระหรือผ้าไตรจีวร

ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ

1. ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย

– จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม

– สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง

– อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม

– สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร แต่พระเอามาใช้พาดบ่า

– ผ้ารัดอก : ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย

– รัดประคต : คือเชือกไว้รัดสบง หมีหน้าที่เสมือนข็มขัดของพระ

– ผ้าประเคน : เป็นผ้าที่ใช้รับสิ่งของ

2. ไตรอาศัย(ใช้ในชีวิตประจำวัน) ประกอบด้วย

– จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม

– สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง

– อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม

 

 

 

ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกันเช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณฑ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็เยอะตาม)

การเลือกถวายผ้าไตรให้เหมาะกับวัด นิกายมหายาน หรือ ที่เรามักจะเรียกว่ากันสั้น ๆ วัดบ้าน

(คลิกอ่านเกี่ยวกับ นิกายมหายาน)

สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ 

ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ผ้าไตร 5 ขันฑ์

การเลือกถวายผ้าไตรให้เหมาะกับวัด ธรรมยุต หรือ ที่เราเรียกว่ามักเรียกว่า สายพระป่าหรือวัดป่า

(คลิกอ่านเกี่ยวกับข้อมูล พระป่า)

สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวาย ผ้าไตร 9 ขัณฑ์

ผ้าไตร 9 ขันธ์ผ้าไตร 9 ขันฑ์

ความรู้เกี่ยวกับขันฑ์ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ / 9 ขัณฑ์ 

ผ้าชนิดอื่ๆ

ผ้าวัสสิกสาฎก หรือ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง พระสงฆ์สามารถใช้ได้อเนกประสงค์ เช่น นุ่งสรงน้ำ, เช็ดตัว, ปูนอน และห่มคลุมกันหนาว เป็นต้น
นิยมถวายพระ ช่วงก่อนวันเข้าพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘